บทความ

Sport Day หรือ Sports Day?

รูปภาพ
เวลาถึงช่วงเทศกาลกีฬาสีบ้านเราทีไร  มักจะมีคำถามตลอด ตกลงภาษาอังกฤษใช้คำว่า Sport Day หรือ Sport s Day  ???? เติม -s หรือไม่เติมกันแน่???? ' Sport ' is singular (เอกพจน์) ' Sports ' is plural (พหูพจน์)  ตามปกติแล้วงานกีฬาสีย่อมมีการเล่นกีฬาที่แตกต่างหลากหลาย (variety of different sports) ดังนั้นใช้ Sports Day จึงเหมาะสมมากกว่าครับ (ถ้าหลายวันก็ใช้ Sports Days)  ส่วน Sport's Day หรือ Sports' Day ก็ ไม่นิยมใช้ครับ เพราะว่า กีฬาไม่สามารถเป็นเจ้าของของวันได้  ******* แก้ไขเพิ่มเติมวันที่ 1 ส.ค. 2019 แต่ !!!  ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นหลักการจำที่ไม่ถูกต้องครับ! เพราะตามหลักภาษาแล้วนามที่ใช้ขยายนาม หรือมีชื่อว่า Noun Modifiers (N1+N2)   ซึ่งจะเติม -s เฉพาะ N2 ซึ่งเป็นคำนามหลัก เท่านั้น โดย N1 เป็นวัตถุประสงค์ (purpose) ที่ขยาย N2 เป็นคำนามหลัก เอ .... แล้วทีนี้ทำไม sports ถึงเติม s ล่ะ???? ก็เพราะว่า sports สามารถเป็น Adj ได้ครับ!!! เช่น sports center, sports car, sports festival หรือ sports day เป็นต้น อ้างอิงจาก https://dictiona

Organizing : Topic, Supporting และ Concluding Sentences

รูปภาพ
Organizing Paragraph -   การจัดระบบการเขียนของย่อหน้า  ซึ่งในที่นี้จะพูดถึงเรื่องของ  Topic Sentence Supporting Sentence และ  Concluding Sentence   ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการเขียนในแต่ละย่อหน้า  (paragraph)   Topic Sentence เป็นประโยคที่ สำคัญที่สุด ของย่อหน้า โดย มักจะเป็นประโยคแรก ของย่อหน้า (บางครั้งอาจจะอยู่กลางหรือท้ายประโยคก็ได้) ทั้งนี้ topic sentence นั้นมี เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้ว่าย่อหน้า (paragraph) นี้กำลังพูดถึงประเด็นอะไร ซึ่งก็คือความคิดหลักของย่อหน้า (main idea of a paragraph)        Topic sentence ที่ดี   ต้องเป็นการแสดงความคิดเห็น (opinion) ซึ่งทำให้ผู้เขียนเองสามารถบรรยายหรือขยายความต่อไปได้ เพราะถ้าหากเป็นการนำเสนอข้อมูลความจริง (fact)  ผู้เขียนจะไม่สามารถเขียนหรือแสดงข้อมูลอะไรต่อได้อีก เช่น Potato is a vegetable. เป็น fact เพราะไม่สามารถโต้แย้งได้ มันฝรั่งมันก็เป็นพืชผักจริงๆ (หรือใครจะเถียง?) แล้วผู้เขียนจะเขียนอะไรต่อหล่ะ? Potato is good for you. เป็น opinion   ผู้เขียนสามารถบรรยายต่อไปได้ว่าข้อดีมีอะไรบ้าง เป็นต้น        วิธีสังเก

รีวิวหนังสือ - เด็กน้อยโตเข้าหาแสง

รูปภาพ
       นอกจากหนังสือ "โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง" ที่ผมประทับใจมากแล้ว "เด็กน้อยโตเข้าหาแสง" เล่มนี้แนะนำว่าคนที่มีอาชีพครูควรอ่านเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการให้โอกาสเยาวชนที่เคยทำผิดพลาด จนต้องอยู่ในมุมมืดของสังคม เราจึงต้องเป็นแสงสว่าง (ซึ่งอาจจะเป็นแสงสุดท้าย) ที่นำพาออกจากความมืดมิดในใจของพวกเขา ไม่ให้กลับไปอีก และทำให้เขามีแสงสว่างภายในตนเอง มากพอที่จะส่งสว่างไปยังสังคมที่คอยแต่จะแสดงความมืดบอดอย่างเข้มแข็ง       หนังสือเล่มนี้จะให้ข้อคิดที่สำคัญต่อผู้อ่านในการเป็นครู ที่มีหน้าที่อบรมบ่มเพาะและขัดเกลาให้นักเรียนหรือเยาวชนที่เคยทำผิดพลาดนั้นสำนึกต่อความผิด รู้จักให้อภัย และพร้อมจะกลับตัวกลับใจเป็นคนใหม่ที่สามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้ แม้ว่าอาจจะถูกสังคมรอบข้างที่คอยซ้ำเติมต่อความผิดพลาดของเขาเหล่านั้นก็ตามเมื่อเขาได้มีโอกาสกลับเข้าสู่สังคมเดิมๆ แต่ครูผู้เป็นคนฉีดวัคซีนชั้นดีที่ทำให้พวกเขามีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่แข็งแกร่ง และจะไม่วกกลับไปทำในสิ่งที่เคยทำผิดพลาดต่อสังคมนั้นอีกต่อ เทคนิคทางจิตวิทยาต่างๆ ที่ป้ามลได้หยิบยกมาเป็นกรณีต

การเพิ่มบัญชี (Add Account) Google Plus

รูปภาพ
ก ารเพิ่มบัญชี คือ การที่ผู้ใช้มีชื่อ account ของ Google อยู่สองชื่อ (หรือมากกว่านั้น) แล้วต้องการเชื่อมต่อ account เพื่อง่ายต่อการใช้มากขึ้น โดยที่ไม่ต้องเสียเวลา sign out ชื่อหนึ่ง แล้วไป sign in อีกชื่อหนึ่ง ให้เสียเวลา ทีนี้เราจะกล่าวถึงการเพิ่มบัญชี (add account) ผ่านอุปกรณ์ทั้งสองชนิด คือ พวกโทรศัพท์มือถือ หรือ smart device และ คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะขอเริ่มต้นผ่านระบบมือถือก่อนเลยนะครับ 1. อย่างแรกก็ต้องเข้าไปที่ application ของ Google+ ก่อนเลย 2. เมื่อเข้ามาแล้วก็กดปุ่มเมนูที่อุปกรณ์ของเรา จากนั้นก็จะมีแถบเครื่องมือด้านล่างโผล่ขึ้นมา ให้เลือกไปที่ Settings 2.1. ปุ่มเมนูที่อุปกรณ์ (Samsung) 2.2. แถบเมนูที่โผล่ขึ้นมาบนหน้าจอ จากด้านล่าง 3. เมื่อเข้ามาสู่หน้าจอของ setting แล้ว ให้เลือกไปที่ Add account 4. แล้วจะปรากฏหน้าจอดังภาพด้านล่าง ซึ่งจะถามว่า "คุณต้องการที่จะเพิ่มชื่อบัญชีที่มีอยู่แล้ว (existing account) หรือจะสร้างชื่อบัญชีใหม่ (create a new one) 4.1. เลือกระหว่างเพิ่มชื่อที่มีอยู่แล้วอีกอันหนึ่ง (Existing) หรือจะสร้าง account ใหม

LEFT & RIGHT BRAIN ภาษาอังกฤษกับความสามารถของสมอง

รูปภาพ
http://www.huffingtonpost.com/john-m-eger/right-brain-left-brain-thinking_b_2631704.html เพิ่มเติมจากบทเรียนเรื่อง Left Brain and Right Brain  ของวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ ในระดับชั้น ม.5 ภาคเรียนที่ 1 จากภาพจะเห็นว่าได้แบ่งการทำงานของสมองของทั้งสองซีก  ทีนี้เรามาเรียนรู้คำศัพท์จากภาพกันดีกว่าครับ LEFT BRAIN   decisive (adj) = ซึ่ง(ตัดสินใจ)เด็ดเดี่ยว logic (n) = ตรรกะ, ความคิดที่มีเหตุมีผล accurate (adj) = ที่ถูกต้อง, ละเอียดรอบคอบ (ภาษาพูดคือ "เป๊ะ") analytic (adj) = ซึ่งเกี่ยวกับการวิเคราะห์  (ออกเสียงเป็น  แอน-นัล-ลิ-ทิค ) reason (n) =  มีเหตุผล practical (adj) =  เกี่ยวกับการปฏิบัติ ,  ตามความเป็นจริง, เหมาะสม strategic (adj) = ที่คิดแยบยล (กลยุทธ์หรือยุทธวิธี)  control (n) = การควบคุม science (n) = วิทยาศาสตร์ realistic (n) = ซึ่งเกี่ยวกับความเป็นจริง, ปฏิบัติได้จริง (อยู่กับความเป็นจริง) RIGHT BRAIN intuition (n) = ความสามารถในการหยั่งรู้ (ตามสัญชาตญาณ) love (n) = ความรัก poetry (n) = กาพย์กลอน freedom (n) = อิสรภาพ pas

วิธีเปลี่ยน password บัญชี Google ผ่าน Google Plus

รูปภาพ
สามาชมแบบ Presentation ได้ที่  http://goo.gl/UELcOC 1. เมื่อเข้ามาที่ Google+ แล้ว ให้เลือกรูปของเราที่อยู่ด้านมุมบนขวามือ 2. จากนั้นให้เลือกที่ Account  3. เลือก Security  4. ไปที่ Change password 5. แล้วจากนั้นจึงทำการป้อนรหัสเดิมเพื่อป้องกันการแอบเปลี่ยนจากผู้ไม่ประสงค์ดี และป้อนรหัสใหม่ที่เราต้องการ 2 ครั้ง จากนั้นคลิกที่ Change Password เพื่อเป็นการยืนยัน เป็นอันเสร็จเรียบร้อยครับ

(ต่อ) แก้ปัญหาไม่พบฟอนต์ TH Sarabun ใน Google Drive ด้วยวิธีง่ายๆ

รูปภาพ
ภาพจาก Google Presentation  ** หมายเหตุ **   สิ่งที่สำคัญที่สุด คือเครื่องของเราต้องติดตั้งฟอนต์ TH Sarabun เสียก่อน กรุณาคลิกเพื่อดาวโหลด Font SarabunPSK   จากเว็บ กระทรวงศึกษาธิการ จากบทความที่ผ่านมา เราได้รับทราบกันแล้วว่าขณะนี้ Font TH Sarabun ได้ถูกบรรจุอยู่ใน Google Drive เป็นที่เรียบร้อยแล้วนะครับ แต่จากปัญหาก่อนหน้านี้ที่แจ้งไว้ว่ายังไม่สามารถใช้ TH SarabunPSK ได้ถ้าเมนูคำสั่งเป็นภาษาอังกฤษ จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องที่ "เส้นผมบังภูเขา" มากครับ คราวนี้ผู้เขียนมีวิธีการแก้ปัญหาในกรณีที่ไม่ค้นพบฟอนต์ TH SarabunPSK  แบบง๊ายง่าย ... ถึงง่ายที่สุดเลยนะครับ  โดยที่เมนูคำสั่งต่างๆ ก็ยังเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาที่ท่านสนใจ (บทความนี้คงถูกใจครูภาษาต่างประเทศเลยล่ะครับ) เมื่อเราเริ่มที่จะพิมพ์งานใน Google Drive แล้ว ปรากฏว่าไม่พบฟอนต์ TH SarabunPSK  ขั้นตอนก็คือ ให้ไปที่คำสั่ง "ไฟล์" (File) ที่อยู่ทางด้าน มุมบนซ้ายมือ  แล้วจากนั้นเลือก "ภาษา" (Language)  และเลือก "ไทย"  เท่านี้ก็สามารถเปลื่ยนมาใช้ Font TH SarabunPSK  ได้แล