บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ Grammar

If - Clause "ถ้าเขามา .. ฉันจะไป"

รูปภาพ
เรื่อง If - Clause  หรือเรียกอีกอย่างคือ Conditional Sentence  = ประโยคเงื่อนไง ครูโจโจ้มักจะบอกนักเรียนนึกถึงประโยคนึงเสมอคือ "ถ้าเขามา ฉันจะไป" คล้ายๆ กับเพลงของ ดา เอ็นโดฟิน เพราะประโยคนี้แหล่ะ คือประโยคเงื่อนไข หรือเรื่อง If - Clause นั่นเอง "ถ้าเขามา ฉันจะไป" มี 2 ประโยคด้วยกัน "ถ้าเขามา" คือ If Clause เพราะ if = ถ้า  (If he comes) "ฉันจะไป" คือ Main Clause (I will go) ว่าด้วยเรื่องตำแหน่งของ If If aaaaaa , bbbbb    = ขึ้นต้นด้วย If จะมี comma ( , ) คั่นกลาง If he comes , I will go. Bbbbbb if aaaaaa   = ใช้ if ไว้ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมประโยค I will go if he comes.  การเขียนประโยคเงื่อนไขด้วย If ในบางตำราจะเรียกเงื่อนไขเป็นตัวเลข เป็น 0, 1, 2, 3 แต่สำหรับครูโจโจ้แนะนำว่าให้เข้าใจความหมายของแต่ละลักษณะของเงื่อนไขจะเข้าใจได้มากกว่านะครับ ทั้งนี้การเขียน If clause นั้นก็ไม่ได้ตายตัวว่าจะต้องเป็นแบบ 0, 1, 2, 3 เสมอไป ยังมีการเขียน If ที่เป็นแบบผสมหลากหลาย แต่ครูโจโจ้อยากให้เข้าใจเงื่อนไขพื้นฐาน 4 เงื่อนไขดังต

"อดีตที่มีปัจจุบันให้เห็น" Present Perfect

รูปภาพ
The name "Shirakawa-go" has made a large number of appearances throughout the history of Japan. โครงสร้างของ Present Perfect (+) ประโยคบอกเล่า S + Have1 + V3 (-) ประโยคปฏิเสธ S + Have1 + not + V3 (?) ประโยคคำถาม (WH) Have1 + S + V3 ? *หมายเหตุ Have1 = have กับ has have ใช้กับ I, You, We, They เอกพจน์บุรุษที่ 1 และ 2 พหูพจน์ has ใช้กับ เอกพจน์บุรุษที่ 3 = He, She, It เป็นต้น ตัวย่อในรูปปฏิเสธ have not = haven't has not = hasn't การใช้ Present Perfect Think about the past and present together "อดีตที่มีปัจจุบันให้เห็น" เรามักจะเคยได้ยินว่า Present Perfect ใช้กับ "เหตุการณ์ในอดีตมีผลกับปัจจุบัน"   ทีนี้ครูโจโจ้ก็มาปรับคำพูดใหม่เป็น "อดีตที่มีปัจจุบันให้เห็น"  เพราะประโยคจะมี สองสถานการณ์ที่ควบคู่กัน ประกอบด้วย  Finished action คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเรียบร้อยแล้วในอดีต กับ Present คือเหตุการณ์ในปัจจุบัน หรือ ยังมีผลถึงปัจจุบัน ซึ่งทั้งสองสถานการณ์นี้เกิดขึ้นพร้อมกันในห้วของผู้พูด ประ

ต่อเนื่องด้วยเรื่อง Present Continuous

รูปภาพ
What is he doing? เหมือนเดิมครับ สิ่งที่เราจะต้องรู้ในแต่ละ Tense ประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้ โครงสร้าง การใช้ คำบอกเวลา โครงสร้างของ Present Continuous (หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Present Progressive) (+)   ประโยคบอกเล่า   S + Be1 + V ing (-)   ประโยคปฏิเสธ    S + Be1 + not + V ing (?) ประโยคคำถาม  (WH) Be1 + S + V ing ?   *หมายเหตุ Be1 คือ Verb to be ช่องที่ 1 ประกอบด้วย is, am, are I ใช้กับ am You ใช้กับ are We/They และ นามพหูพจน์ ใช้กับ are He/She/It  และ นามเอกพจน์ ใช้กับ is (หลักการเติม V ing ขอยกไปบทความต่อไป) การใช้ Present Continuous  Temporary/Unpredictable/Unplanned events   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นชั่วคราว (ไม่ถาวร) เหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิด หรือ วางแผนไว้ล่วงหน้า I'm working hard these days these days = ช่วงนี้ คือปกติไม่ได้หนักขนาดนี้ ช่วงนี้ที่ทำงานหนัก เหตุการณ์ชั่วคราว Look at the window! The birds are flying .  คือนกกำลังบินผ่านตอนนี้ แล้วบอกให้ทุกคนหันไปดู ปกติคือนกไม่เคยบินตรงนี้ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดว

ความจริง คือ Present Simple อย่างไร?

รูปภาพ
สิ่งที่เราจะต้องรู้ในแต่ละ Tense ประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้ โครงสร้าง  การใช้ คำบอกเวลา (key words) โครงสร้างของ Present Simple (+) ประโยคบอกเล่า   S + V1 (-) ประโยคปฏิเสธ    S + Do + not + V infinitive (?) ประโยคคำถาม (WH) Do + S + V infinitive ? *หมายเหตุ Do = Verb to do ประกอบด้วย do และ does WH = คำถามแบบ Informative Question ประกอบด้วย Who, What, When, Where, Why, How V1 จะต้องผันตามประธาน ถ้าประธานเป็นเอกพจน์บุรุษที่ 3 คือ He/She/It เป็นต้น ด้วยการเติม -s, -es โดยมีหลักการณ์ดังนี้ ….. V. ส่วนมาก เติม -s เช่น work s cook s live s V. ลงท้ายด้วย -s, -sh, -ch, -x เติม -es เช่น pass es , finish es , teach es , mix es V. ลงท้ายด้วย -y ให้ ตัด -y ออก แล้วเติม -ies เช่น carry - carr ies , study - stud ies ยกเว้นว่าหน้า -y เป็นสระ (a/e/i/o/u) ให้เติม -s ได้เลย เช่น pl a y - pl a y s , enj o y - enj o y s ส่วน go, do ให้ เติม -es เป็น go es และ do es และ have เปลี่ยนเป็น has V infinitive จะไม่ผันตามประธาน หากประโย

Passive Voice : วิธีจำโครงสร้างง่ายๆ

รูปภาพ
ก่อนหน้านี้ครูโจโจ้ได้นำเสนอ เทคนิคจำโครงสร้าง Tense ซึ่งเป็นรูปแบบของ Active ส่วน บทความนี้คุณครูจะนำเสนอโครงสร้างแบบ Passive นะครับ แต่ควรจำโครงสร้างของ Tense ทั้งหมดก่อนนะ  <<<คลิกเพื่ออ่านบทความ>>> Active กับ Passive คือ Voice ทางไวยากรณ์ Active voice คือ ประธานเป็นผู้กระทำ (ประธานสามารถทำเองได้) Passive voice คือ ประธานเป็นผู้ ถูกกระทำ (หรือ ประธานทำเองไม่ได้)  เวลาแปลประโยคของ Passive voice จะมีคำว่า ถูก ... (กระทำ)  เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ ให้นึกถึงฟันของเรานะครับ ฟันล่างเราคือ active เพราะมันขยับได้  ส่วนฟันบนคือ passive ครับ (ลองขยับดูซิ ได้ไหม?) คุณครูมีสมการง่ายๆ ครับ ในการเปลี่ยนจาก Active ให้กลายเป็น Passive  เพียงแค่ดูจาก Tense เดิมเป็นหลัก สมการก็คือ Vx = Be x + V3 อธิบายก็คือ V ใดๆ ก็ตาม (x) ที่อยู่ในโครงสร้างของ Active  จะเปลี่ยนเป็น Be + V3 ในโครงสร้างของ Passive  โดย Be จะผันตาม (x) ที่มาจาก Active ครับ ดังนี้             Active           :        Passive S + V1 (x ก็คือ  1)                      =    S + Be1 + V3

เทคนิคจำโครงสร้าง Tense

รูปภาพ
สำหรับโพสนี้เป็น trick ง่ายๆ ที่ช่วยจำโครงสร้าง เพียงจำแค่ 6 อย่างเท่านั้น สามารถเขียนโครงสร้าง Tense ได้ทั้งหมด 12 โครงสร้างเลยทีเดียว ดังนี้ ให้จำ ว่าเมื่อพูดถึง  Present = V1, Past = V2, Future = will  + V Infinitive ส่วน Simple = ข้ามไปเลยไม่ต้องคิดถึงอะไร, Continuous = be  + Ving และ Perfect = have  + V3 *จำไว้เสมอว่า อยู่ๆ Verb จะเปลี่ยนเป็น Ving ไม่ได้ ต้องมี Be (be, is, am, are, was, were, been) เป็นตัวแปรที่ทำให้เป็น Ving ได้ เช่นเดียวกันกับ V3 ที่ต้องมี Have (have, has, had) เป็นตัวแปร พูดง่ายๆ ว่ามันเป็นของคู่กัน Be + Ving และ Have + V3 *Continuous กับ Progressive คืออันเดียวกัน แล้วแต่ว่าตำราจะเลือกใช้คำไหน เมื่อจำได้แล้วให้ทำขั้นตอนดังนี้ 1. เขียน Tense ทั้งหมด 2. เมื่อได้เขียน Tense ทั้งหมดแล้ว นำสิ่งที่จำ 6 อย่างมาใช้เพื่อเขียนโครงสร้าง โดยให้เริ่มเขียนประธาน (Subject) ก่อน จากนั้นดูจากข้างหลังมาข้างหน้า แล้วจะได้โครงสร้าง เช่น เขียน Subject ก่อน   (โดยจะใช้สีเพื่อแบ่งข้างหน้ากับข้างหลัง) Present Simple = Subject +  ดูจาก ข้าง

Every day กับ Everyday ต่างกันอย่างไร

รูปภาพ
ความแตกต่างระหว่าง  Every day กับ  Everyday "I read the newspaper  every day ,  but it mostly filled with  everyday  stories." ทั้งสองคำนี้ ดูผิวเผินอาจจะคิดว่าเหมือนกัน จริงๆ แล้วมีความหมาย และ การใช้ที่แตกต่างกัน Every day แบ่งเป็นคำ 2 คำ คือ         every ที่เป็น adjective ขยาย noun ก็คือ  day นั่นเอง        อย่างไรก็ดี  every day   นั้นเป็น Adverb of Frequency          เพื่อบอกความถี่หรือความบ่อย  จึงหมายความว่า  ทุกๆ วัน   (ของแต่ละวัน;  each day ) ถ้าหากต้องการตรวจสอบว่าใช้ถูกหรือไม่ ให้เราใช้คำว่า each day แทน every day ก็จะมีความหมายที่คล้ายกัน ดังตัวอย่าง I read books every day .     =   I read books each day . ฉันอ่านหนังสือ ทุกๆ วัน                                                           ฉันอ่านหนังสือ ในแต่ละวัน Every day I'm very happy  =   Each day I'm very happy. ทุกๆ วัน ฉันมีความสุขมาก                                                       ในแต่ละวัน ฉันมีความสุขมาก Everyday เป็น 1 คำ เป็น  adjective        ความห