บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ การเลี้ยงดู

รีวิวหนังสือ - สร้างเด็กภูมิดีด้วย EF

รูปภาพ
ชื่อหนังสือ สร้างเด็กภูมิดีด้วย EF ชื่อผู้เขียนหนังสือ นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ สำนักพิมพ์ แพรวเพื่อนเด็ก เนื้อหา 154 หน้า ราคา 195 บาท จากบทความรีวิวหนังสือก่อนหน้านี้  รีวิวหนังสือ : เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ EF ซึ่ง "สร้างเด็กภูมิดีด้วย EF" เล่มนี้เปรียบเสมือนภาคต่อเพื่อขยายรายละเอียดของ EF โดยคุณหมอประเสริฐนั่นเอง   ความคิดเห็นหลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้จบ ครูโจโจ้รู้สึกว่าเล่มนี้อ่านยากกว่าเล่มก่อนหน้านี้นิดหน่อยนะครับ เนื่องจากคุณหมอเพิ่มความเป็นวิชาการมากขึ้น จึงมีคำศัพท์ทางชีววิทยา อย่างเช่นสมองในส่วนต่าง ๆ มีชื่อว่าอะไร มีคุณสมบัติอะไร เป็นต้น ดังนั้นครูโจโจ้จึงขอหยิบยกบางประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดู การจัดการเรียนการสอน หรือ กิจกรรมเสริมประสบการณ์สำหรับเด็กเพื่อมาเล่าสู่กันฟังนะครับ  ในเล่มนี้คุณหมอแบ่งหมวดหมู่ออกเป็น 3 Parts ประกอบด้วย  Part 1 ใด ๆ ล้วน EF Part 2 ทำไมต้อง EF Part 3 การแก้ไข EF  ซึ่งในแต่ละ Part ก็จะเป็นเนื้อหาบทย่อย ๆ ไปอีก ทำให้ง่ายสำหรับผู้อ่านว่าต้องการกลับไปอ่านซ้ำในประเด็นไหน ในหมวดหมู่ไหน  ใน Part 1 ใด ๆ ล้วน EF คุณหมอขยายความเข้

รีวิวหนังสือ - เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ EF

รูปภาพ
ชื่อหนังสือ   เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ EF ชื่อผู้เขียนหนังสือ นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ สำนักพิมพ์ แพรวเพื่อนเด็ก เนื้อหา 170 หน้า ราคา 165 บาท  ในปัจจุบันการศึกษาระดับปฐมวัยต่างพูดถึงเรื่องของ EF หรือ Executive Fuctions กันอย่างแพร่หลาย พ่อแม่ผู้ปกครองยุคใหม่ต่างให้ความสนใจในเรื่องการพัฒนา EF ของลูกน้อย  ใครที่ได้อ่านมาบ้างก็จะพอเข้าใจว่า EF คือการพัฒนาสมองส่วนหน้าเพื่อทักษะควบคุมอารมณ์ความคิด ซึ่งระยะเวลาที่พัฒนาได้ดีที่สุดคือช่วงวัยอนุบาล  จึงนับว่า EF เป็นเทรนด์ที่สำคัญสำหรับการเลี้ยงดูบุตรหลานและการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย ณ ช่วงเวลานี้ หนังสือ "เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ EF" เล่มนี้ เขียนโดยนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จึงเหมาะสำหรับผู้ปกครองและนักการศึกษาที่ควรหามาอ่านเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากคุณหมอได้สรุปเนื้อหาจากบทความทางวิชาการต่าง ๆ มาซอยย่อยเหมือกับเรื่องเล่าเพื่อให้เข้าถึงผู้ปกครองรวมถึงครูและนักการศึกษาด้วยภาษาที่ง่ายขึ้น รู้จักกับผู้ขียน นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เป็นจิตแพทย์และนักเขียนชื่อดัง โดยเฉพาะพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น คุณหมอจบการศึกษาจาก โรงเรีย

รีวิวหนังสือ - โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง

รูปภาพ
"โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง" เป็นหนังสือที่ครูโจโจ้เคยอ่านครั้งเมื่อยังเป็นนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ครั้งนั้นยังประทับใจไม่รู้ลืม จนได้เห็นวางอยู่บนแผงหนังสือใหม่อีกครั้ง เลยซื้อเก็บไว้เป็นที่ระลึกและอ่านทบทวนเพื่อเติมเต็มไฟฝันในการทำอาชีพครู "โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง" เป็นหนังสือที่เล่าจากประสบการณ์ชีวิตจริงของผู้เขียน คุโรยานางิ เท็ตสึโกะ ในวัยเด็กประถมที่โรงเรียน โทโมเอ ซึ่งก่อตั้งโดย คุณครูโคบายาชิ โซซาขุ เป็นคุณครูใหญ่ของโรงเรียนโทโมเอด้วย หนังสือเล่มนี้แปลเป็นภาษาไทยโดย คุณผุสดี นาวาวิจิต และตีพิมพ์เป็นภาษาไทยครั้งแรกเมื่อปี 2527 โดยสำนักพิมพ์กะรัต ต่อมาเป็นฉบับแก้ไข ตีพิมพ์ในปี 2558 โดยสำนักพิมพ์ผีเสื้อญี่ปุ่น ความประทับใจของครูโจโจ้ที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ คือแนวคิดของคุณครูใหญ่ โคบายาชิ โรงเรียนโทโมเอเป็นโรงเรียนที่ใช้ตู้รถไฟเก่า 6 ตู้มาเป็นห้องเรียน ลองจิตนาการดูนะครับว่าถ้าเราเป็นเด็กแล้วเดินเข้าไปในโรงเรียนที่เป็นรถไฟแบบนี้จะตื่นเต้นขนาดไหน แล้วยิ่งกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นขับเคลื่อนโดยคุณครูใหญ่โคบายาช

รีวิวหนังสือ - เด็กน้อยโตเข้าหาแสง

รูปภาพ
       นอกจากหนังสือ "โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง" ที่ผมประทับใจมากแล้ว "เด็กน้อยโตเข้าหาแสง" เล่มนี้แนะนำว่าคนที่มีอาชีพครูควรอ่านเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการให้โอกาสเยาวชนที่เคยทำผิดพลาด จนต้องอยู่ในมุมมืดของสังคม เราจึงต้องเป็นแสงสว่าง (ซึ่งอาจจะเป็นแสงสุดท้าย) ที่นำพาออกจากความมืดมิดในใจของพวกเขา ไม่ให้กลับไปอีก และทำให้เขามีแสงสว่างภายในตนเอง มากพอที่จะส่งสว่างไปยังสังคมที่คอยแต่จะแสดงความมืดบอดอย่างเข้มแข็ง       หนังสือเล่มนี้จะให้ข้อคิดที่สำคัญต่อผู้อ่านในการเป็นครู ที่มีหน้าที่อบรมบ่มเพาะและขัดเกลาให้นักเรียนหรือเยาวชนที่เคยทำผิดพลาดนั้นสำนึกต่อความผิด รู้จักให้อภัย และพร้อมจะกลับตัวกลับใจเป็นคนใหม่ที่สามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้ แม้ว่าอาจจะถูกสังคมรอบข้างที่คอยซ้ำเติมต่อความผิดพลาดของเขาเหล่านั้นก็ตามเมื่อเขาได้มีโอกาสกลับเข้าสู่สังคมเดิมๆ แต่ครูผู้เป็นคนฉีดวัคซีนชั้นดีที่ทำให้พวกเขามีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่แข็งแกร่ง และจะไม่วกกลับไปทำในสิ่งที่เคยทำผิดพลาดต่อสังคมนั้นอีกต่อ เทคนิคทางจิตวิทยาต่างๆ ที่ป้ามลได้หยิบยกมาเป็นกรณีต